วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558

บทที่ 10 ศาสนาสำคัญในประเทศไทย

1. ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู

ศาสนาฮินดู (อังกฤษ: Hinduism) เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีคัมภีร์ศาสนาเรียกว่าพระเวท มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน เพิ่มเติม

บทที่ 9 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา

  ๑.  ศาสนา  หมายถึง  คำสั่งสอนที่ประกอบด้วยหลักศีลธรรมทั้งที่เป็นข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติ  ส่วนในภาษาอังกฤษ  หมายถึง  ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า  โดยมียอมมอบกายถวายชีวิตของตนให้พระเจ้าด้วยความจงรักภักดี  ต้องมีหลักความเชื่อเรื่องพระเจ้าหรืออำนาจที่อยู่เหนือการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสในฐานะเป็นเเหล่งกำเนิดของสรรพสิ่งในโลก เพิ่มเติม

บทที่ 8 หน้าที่และมารยาทชาวพุทธ

หน้าที่ชาวพุทธ

        พุทธศาสนิกชนยึดถือพระพุทธศาสนาเป็นสรณะในการดำรงชีวิต ในประเทศไทยประชาชนมากกว่าร้อยละ ๙๕นับถือพระพุทธศาสนาเป็นเวลากว่าพันปีแล้วที่พระพุทธศาสนาได้เข้ามาผสมกลมกลืนกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย  เพิ่มเติม

บทที่ 7 พุทธสาวก พุทธสาวิกา และศาสนิกชนตัวอย่าง

1.พระนางมัลลิกา

พระนางมัลลิกา ทรงเป็นธิดาของช่างทำดอกไม้   มีหน้าที่ออกไปเก็บดอกไม้ในสวนเพื่อนำมาให้บิดาทำพวงมาลัยทุกวันเพื่อไว้ขายเป็นประจำ  นางได้ถวายดอกไม้และได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้าจนได้บรรลุโสดาปัตติผลเป็นพระอริยบุคคลตั้งแต่อายุยังน้อย เพิ่มเติม

บทที่ 6 การบริหารจิตและเจริญปัญญา

1. การบริหารจิต หมาย ถึง การบำรุงรักษาจิตให้เข้มแข็งผ่องใสบริสุทธิ์  ซึ่งต่างกับการบริหารกาย เพราะการบริหารกายต้องทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวอยู่เสมอแต่การบริหารจิต จะต้องฝึกฝนให้จิตสงบนิ่งอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งการฝึกจิตให้สงบ คือการทำสมาธินั่นเอง เพิ่มเติม

บทที่ 5 พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต

พระไตรปิฎก : โครงสร้าง ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันตปิฎก
ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันปิฎก

          พระสูตร หรือที่เรียกในทางวิชาการว่า พระสุตตันปิฎก เป็น 1 ใน 3 ปิฎก มีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากพระวินัยปิฎก เพิ่มเติม

บทที่ 4 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
พระรัตนตรัย คือแก้วอันประเสริฐ (ของชาวพุทธ) 3 ประการ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
พระพุทธ     คือ ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม
พระธรรม     คือ  คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

พระสงฆ์     คือ ผู้ปฏิบัติชอบตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วสอนผู้อื่นให้ประพฤติปฏิบัติตาม 

บทที่ 3 วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและศาสนพิธี

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันมาฆบูชา คือ วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 พระศาสดาประชุมพระสาวก ณ พระวิหารเวฬุวัน ได้มีสันติบาตประกอบด้วย เพิ่มเติม

บทที่ 2 พุทธประวัติและชาดก

พุทธประวัติ
ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนได้ศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับพุทธประวัติในด้านการตรัสรู้และการก่อตั้งพระพุทธศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาแล้ว ส่วนในระดับชั้นนี้นักเรียนจะได้ศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการสอนของพระพุทธเจ้าและการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธจริยาเพื่อที่จะได้น้อมนำมาเป็นแนวทางในการศึกษาและปฎิบัติต่อไป เพิ่มเติม

หน่วย 1 ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา



พระพุทธศาสนามีสาระที่เป็นประโยชน์ มีความสำคัญทั้งในด้านทฤษฎีที่เป็นเหตุเป็นผล และวิธีการที่เป็นสากล เหมาะสมกับทุกยุคทุกสมัย รวมทั้งมีข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลาง พุทธศาสนิกชนพึงวิเคราะห์และตระหนักในคุณค่าของทฤษฎี วิธีการ และหลักปฏิบัติเหล่านั้น เพิ่มเติม